1. ความมายของสื่อบันทึกข้อมูล
สื่อบันทึกข้อมูลหรือสื่อจัดเก็บข้อมูล (Media) ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ชุดคำสั่ง และสารสนเทศอื่น ๆ ซึ่งถือเป็น หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สากึ่งตัวนำ (Semiconductor) สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 หน่วยความจำชั่วคราว (แบบโวลาไทล์ Volatile Memory)
คือ หน่วยความจำที่ต้องมีระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับหน่วยความจำตลอดเวลา เพื่อจำข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ RAM (Random Access Memory) ข้อมูลจะสูญหาย หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหากปราศจากกระแสไฟเลี้ยง
1.2 หน่วยความจำถาวร (แบบนอนโวลาไทล์ Nonvolatile Memory)
คือ หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหน่วยความจำ ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการจัดเก็บไว้บนหน่วยความจำถาวรก่อนที่จะทำการปิดเครื่อง เพื่อเก็บไว้ใช้งานวันข้างหนเต่อไป ได้แก่ ROM (Read Only Memory)
สื่อต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลนั้นต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อ่านข้อมูล หรือเขียนข้อมูลที่เรียกว่า “อุปกรณ์บันทึกข้อมูล (Storage Media)” เช่น ฟลอปปี้ดิสก์ ใช้คู่กับฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์ หรือแผ่นซีดีที่ใช้คู่กับเครื่องเล่นแผ่นซีดี สื่อบันทึกข้อมูลมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ Secondary Storage, Auxilliary Storage, Permanent Storage หรือ Mass Storage ปัจจุบันมีสื่อบันทึกข้อมูลหลาย ๆ ประเภทด้วยกันให้เลือกใช้งาน การพิจารณา ว่าจะใช้สื่อใดเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล สามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ต้นทุน ขนาด ความจุ และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สื่อเก็บจัดข้อมูลได้พัฒนาขึ้นมาก เช่น แผ่นซีแผ่นดีวีดี หรือธัมบ์ไดรฟ์ (Thumb Drive) ที่ทำให้สามารถจุข้อมูลได้สูงขึ้นมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น